แถบสีที่ 1
แถบสีที่ 2
แถบสีที่ 3
แถบสีที่ 4
แถบสีที่ 5
แถบสีที่ 6

ประวัติโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

image

ประวัติโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

   ในปี พ.ศ.๒๕๑๕ นางสาวนิวัตรา คลายนาทร สำเร็จการศึกษาปริญญาโททางด้านการสอนเด็กก่อนวัยเรียน จากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มโครงการสอนเด็กก่อนวัยเรียน (บริบาลทารก) ในวิทยาลัยครูนครสวรรค์ โดยได้รับการเห็นชอบและสนับสนุนจากอาจารย์ประธาน จันทร์เจริญ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูในขณะนั้น โครงการดังกล่าวเป็นที่สนใจของผู้ปกครองโดยทั่วไป เนื่องจากใช้แนวการสอนที่แตกต่างจากโรงเรียน

   โครงการดังกล่าวเป็นที่สนใจของผู้ปกครองโดยทั่วไป เนื่องจากใช้แนวการสอนที่แตกต่างจากโรงเรียนระดับอนุบาลและระดับประถมศึกษาทั่วไปคือ ยึดหลักการเรียนด้วยตนเอง(Individual Learning) การจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนแบบไม่มีชั้นเรียนและเน้นเรื่องศูนย์การเรียน (Learning Center)

    ในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๑๗ กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้จัดตั้งโรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูนครสวรรค์ให้เป็นแหล่งฝึกประสบการณ์ของนักศึกษาครู

    ในปี พ.ศ.๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานนามใหม่แก่วิทยาลัยครูเป็นสถาบันราชภัฏ โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูนครสวรรค์ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏนครสวรรค์

    และในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑ ตอนที่พิเศษ ๒๓ ก ให้สถาบันราชภัฏทั้ง ๔๑ แห่งทั่วประเทศเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗ ซึ่งโรงเรียนสาธิตฯ เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันราชภัฏ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ นับแต่นั้นมา

    ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ได้รับมอบอาคารเรียนจำนวน ๑ หลังจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ บริเวณถนนสายเลี่ยงเมือง สถานีไฟฟ้าย่อยนครสวรรค์-สะพานดำ โรงเรียนจึงได้ย้ายนักเรียนระดับมัธยมศึกษาไปเรียนในสถานที่ดังกล่าวและในปี ๒๕๕๓ ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้ก่อสร้างโรงยิมเนเซียนให้กับโรงเรียนอีกจำนวน ๑ หลัง ในอนาคตโรงเรียนมีนโยบายจะย้ายนักเรียนระดับประถมศึกษา ไปอยู่ร่วมกับนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาเพื่อความประหยัดและการปรับปรุงห้องเรียนของนักเรียนระดับปฐมวัย

    ปัจจุบันโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เปิดสอนในระดับปฐมวัย (๓-๖ ปี)และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖) และได้เปิดศูนย์รับเลี้ยงเด็กเล็ก อายุ ๑- ๒.๕ ปี (nursery) อีก ๑ ศูนย์